การช่วยเหลือทางสังคมและผลต่อสุขภาพ ของ ความเครียด (จิตวิทยา)

นักวิจัยได้สนใจว่า รูปแบบและระดับความช่วยเหลือทางสังคมที่บุคคลหนึ่ง ๆ ได้รับจะมีผลต่อความเครียดและสุขภาพของบุคคลนั้นเท่าไรงานศึกษาต่าง ๆ ได้พบอย่างสม่ำเสมอว่า ความช่วยเหลือทางสังคมสามารถป้องกันผลความเครียดต่อร่างกายและจิตใจ[59][60]โดยมีกลไกหลายอย่าง

แบบจำลองแบบ "ผลโดยตรง" (direct effect) แสดงว่า ความช่วยเหลือทางสังคมมีผลดีโดยตรงต่อสุขภาพเพราะเพิ่มอารมณ์ดี เพิ่มการปรับตัวได้ดี เพิ่มเสถียรภาพพร้อมความแน่นอนของอนาคต และช่วยกันปัญหาทางสังคม ทางกฎหมาย และทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลลบต่อสุขภาพส่วนแบบจำลองแบบ "ผลกันชน" (buffering effect) แสดงว่า ความช่วยเหลือทางสังคมมีอิทธิพลสูงสุดต่อสุขภาพเมื่อเครียด ไม่ว่าจะช่วยให้มองสถานการณ์อย่างมีภัยน้อยลงหรือช่วยรับมือกับความเครียดและนักวิชาการก็ได้พบหลักฐานสนับสนุนแบบจำลองทั้งสองนี้[61]

การช่วยเหลือทางสังคมนิยามโดยเฉพาะว่า เป็นการช่วยเหลือทางจิตใจหรือทางสิ่งของที่เครือข่ายสังคมให้ โดยมุ่งช่วยบุคคลให้รับมือกับความเครียด[62]นักวิชาการโดยทั่วไปจะแยกแยะรูปแบบต่าง ๆ ของการช่วยเหลือทางสังคมรวมทั้ง การช่วยเหลือทางสิ่งของ (instrumental support) เช่น ทางการเงิน หรือการช่วยไปส่งหาหมอ, ทางข้อมูล (informational support) เช่น ให้ความรู้ ช่วยเรื่องการศึกษา หรือคำแนะนำเพื่อแก้ปัญหา, และทางอารมณ์ (emotional support)เช่น ให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ เป็นต้น[62]

การช่วยเหลือทางสังคมสามารถลดความเครียดที่เกิดช่วงตั้งครรภ์[63]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด (จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869